ศธ.ออกประกาศขจัดอ่าน-เขียนไม่ได้

ศธ.ออกประกาศขจัดอ่าน-เขียนไม่ได้ จตุรงค์ สั่งวางมาตรการเข้ม ตั้งเป้าสิ้นเทอมสอง ปลอดกลุ่มเสี่ยง

“จาตุรนต์” ประกาศมาตรการเร่งรัดแก้ปัญหาเด็กไทย อ่านไม่ออก-เขียนไม่ได้ ต้องไม่มีอีกต่อไป ชี้ปัจจัยทำทักษะภาษาไทยอ่อน หลักสูตรภาษาไทยเปลี่ยน ครูไม่สอนการสะกด-ประสมคำ สพฐ.ทำเครื่องมือทดสอบพร้อมสแกนกลุ่มเสี่ยง ป.3 และ ป.6 ทั่วประเทศ เดือน ก.ย.นี้ ตั้งเป้าลดจำนวนเหลือศูนย์ในภาคเรียนที่ 2/2556

ที่กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 5 ก.ย.56นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวในการแถลงข่าวประกาศนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ “นักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ต้องไม่มี” ว่า หลังจากที่ตนได้มอบนโยบายเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้เชื่อมโยง กันเพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนต้องมีเพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ ด้วยตนเอง คือ ความสามารถในการใช้ภาษา แต่เนื่องจากยังพบว่าเด็กไทยจำนวนมากที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ จึงต้องมีการกำหนดมาตรการให้สถานศึกษาปลอดการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

และขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้ไปจัดทำเครื่อง มือทดสอบเพื่อตรวจและคัดกรองความสามารถการอ่านออกเสียงและความเข้าใจของนัก เรียนชั้น ป.3 และ ป.6 เพื่อจัดแบ่งเด็กเป็นกลุ่มและวิเคราะห์สภาพปัญหาและหาวิธีแก้ไขที่ตรงจุด โดยจะเริ่มดำเนินการคัดกรองพร้อมกันทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศให้แล้ว เสร็จและรายงานมายังสพฐ.ภายในเดือน ก.ย.นี้ จากนั้นจะมีการเร่งรัดพัฒนาครูตามผลการประเมินภายในเดือน ต.ค.56 เพื่อจะได้จัดสอนซ่อมเสริมให้แก่นักเรียนที่มีปัญหาภายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โดย สพฐ.จะมีการกำกับ ติดตาม นิเทศให้ความช่วยเหลือครูภาษาไทย และครูทุกคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการอ่านของเด็ก

“ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะเชื่อมโยงไปถึงการให้เด็กคิดวิเคราะห์การเรียน ภาษาต่างประเทศ และการเรียนภาษาอื่นๆ รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข ซึ่งจากตัวอย่างของหลายโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาคือการให้ การดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและมีการสอนแบบเข้มข้น บางโรงเรียนใช้เวลาเพียง 120 ชั่วโมง ก็สามารถเปลี่ยนให้เด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นอ่านออกเขียนได้ แล้วกลับเข้าห้องเรียนตามปกติ ซึ่งวิธีการนี้จะใช้เวลาไม่มาก แต่สิ่งที่จะต้องเร่งรัดต่อไป หลังจากเด็กอ่านออกเขียนได้แล้วคือ การอ่านรู้เรื่อง และสื่อสารได้ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงการเรียนในวิชาอื่น ๆ ด้วย เพราะเมื่ออ่อนภาษาไทย ก็ไม่ต้องพูดถึงวิชาอื่น”

นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า ปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาหลักสูตรที่ กำหนดให้เด็กเรียนวิชาภาษาไทยน้อยเกินไปหรือไม่ ปัญหาวิธีการสอนที่สอนให้เด็กอ่านเป็นคำ ไม่ได้สอนให้สะกด เด็กประสมคำแจกลูกไม่เป็น ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให่ฃ้เด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นอกจากนี้ระบบการทดสอบก็ไม่มีมาตรฐานกลางที่อ้างอิงหลักวิชาว่าด้วยการวัดผล หรือความรู้ทางมาตรฐานภาษา เป็นต้น

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่าวันนี้มีเด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้กี่คน แต่การสแกนครั้งนี้จะทำให้เรารู้ข้อมูลที่ชัดเจนเป็นรายเขตพื้นที่ฯซึ่งจะ ทราบว่ามีเด็กอยู่ในกลุ่มที่ต้องปรับปรุงจำนวนเท่าได เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมครูผู้สอนในช่วงปิดภาคเรียนและดำเนินการสอนซ่อม เสริมได้ทันทีในภาคเรียนที่ 2 โดยมีเป้าหมายว่าแต่ละเดือนนักเรียนกลุ่มที่ต้องปรับปรุงจะต้องลดลงจนเป็น ศูนย์ภายในสิ้นเทอมที่ 2

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ข่าวการศึกษา และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น