แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา

#แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR ผอ.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผอ.สทศ.สพฐ.) โดยกลุ่มพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สทศ.สพฐ.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แนวทางการจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา1. ก่อนการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง สถานศึกษาต้องมีการประเมินคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่ต้องตรวจสอบและประเมินตนเองตามสภาพบริบทของสถานศึกษาที่แท้จริง โดยให้ความสำคัญกับการประเมินเชิงคุณภาพ ผนวกกับการประเมินเชิงปริมาณควบคู่กันไป

2. เมื่อประเมินคุณภาพภายในเสร็จสิ้น สถานศึกษาต้องจัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยการจัดทำรายงานการประเมินตนเองเป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานทั้งหมดของสถานศึกษาที่ครอบคลุมมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษาจะเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาสถานศึกษา และรับการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป

3.ประโยชน์ของการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง มีดังนี้

3.1 ทำให้สถานศึกษามีฐานข้อมูลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แนวทางการพัฒนาในอนาคต ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในปีถัดไป

3.2 สถานศึกษามีข้อมูลสารสนเทศเชิงประจักษ์ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน

3.3 ทำให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบผลการพัฒนา
การจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งในส่วนที่ดี และส่วนที่ควรพัฒนา โดยมีการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างและให้การช่วยเหลือสนับสนุนอย่างเหมาะสม

3.4 หน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการศึกษาทั้งระดับประเทศและระดับเขตพื้นที่

3.5 สถานศึกษาใช้รายงานการประเมินตนเองเพื่อรับรองการประเมินคุณภาพภายในโดยหน่วยงานต้นสังกัด และรับการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน)

4. สถานศึกษาสามารถกำหนดรูปแบบรายงานประเมินตนเองของสถานศึกษาได้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา โดยนำเสนอข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การนำเสนอข้อมูลต่างๆ ไม่มีรูปแบบตายตัว แต่ควรมีความกระชับ รวบรัด จับประเด็นสำคัญๆมานำเสนอ และมีที่มาของหลักฐานที่ชัดเจน การจัดทำต้องไม่ยุ่งยากและเป็นภาระให้กับสถานศึกษา โดยเนื้อหาที่นำเสนอมุ่งเน้นตอบคำถาม 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

4.1 มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีระดับคุณภาพใด

4.2 ข้อมูล หลักฐาน และเอกสารเชิงประจักษ์สนับสนุนมีอะไรบ้าง

4.3 แผนงาน / แนวทางพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม (อย่างน้อย 1 ระดับ) หรือคงสภาพอย่างไร

5. โครงสร้างของรายงานการประเมินตนเอง ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆคือ ส่วนบทสรุปสำหรับผู้บริหาร และส่วนเนื้อหาสาระของการประเมินตนเอง โดยส่วนเนื้อหาสาระฯ ประกอบด้วยส่วนหลักๆ 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา และ 2) เนื้อหาสาระของการประเมินตนเองที่มุ่งตอบคำถาม 3 ข้อข้างต้น

6. เนื้อหาที่นำเสนอในรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาในแต่ละส่วนมีแนวทางดังนี้

6.1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ควรนำเสนอไม่เกิน 2 หน้า สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบของสิ่งที่สถานศึกษาได้ลงมือทำเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านต่าง ๆ การนำเสนอจะต้องมีความกระชับ รัดกุม จับประเด็นสำคัญ และตอบคำถามเนื้อหา 3 ข้อข้างต้น โดยบทสรุปการประเมินตนเองจะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อ (1) กระชับ รวบรัด จับประเด็นสำคัญ และมีที่มาของหลักฐานที่ชัดเจน (2) เป็นการประเมินไม่ใช่แค่บรรยาย (3) สื่อให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบของสิ่งโรงเรียนที่ได้ลงมือทำเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านบริหาร ด้านปัจจัยพื้นฐาน เป็นต้น)

6.2 ส่วนที่เป็นเนื้อหาการประเมินตนเอง มีดังนี้

6.2.1 ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา โดยนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย การนำเสนออาจเป็นความเรียง ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ หรือกราฟ เช่น ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลผู้บริหาร ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลครูและบุคลากร ข้อมูลงบประมาณ ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม เป็นต้น

6.2.2 การตอบคำถามข้อ 1 มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีระดับคุณภาพใด ให้ระบุระดับคุณภาพของสถานศึกษา นำเสนอทั้งรายด้าน จำนวน 3 มาตรฐาน และภาพรวมของสถานศึกษา ซึ่งระดับคุณภาพจะประกอบไปด้วย 5 ระดับ คือ ระดับกำลังพัฒนา ระดับปานกลาง ระดับดี ระดับดีเลิศ และระดับยอดเยี่ยม

6.2.3 การตอบคำถามข้อ 2 ข้อมูล หลักฐาน และเอกสารเชิงประจักษ์สนับสนุนมีอะไรบ้าง ให้เน้นนำเสนอข้อมูล หลักฐานการประเมินเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการปฏิบัติงานตามสภาพจริงของสถานศึกษา (evidence based) โดยเลือกใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมและสะท้อนคุณภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจน ลดภาระการจัดเก็บข้อมูลและเอกสารที่ไม่จำเป็นในการประเมิน ข้อมูลต้องมีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบผลการประเมินได้ตามสภาพบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ โดยข้อมูลที่นำเสนอในการตอบคำถามข้อ 2 นี้ สามารถจำแนกเป็นรายด้านได้ดังนี้

(1) ด้านคุณภาพของผู้เรียน ข้อมูลที่นำเสนอ เช่น
(1.1) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
(1.2) ผู้เรียนมีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระดับดีขึ้นไป
(1.3) ผู้เรียนมีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระดับดีขึ้นไป
(1.4) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป
(1.5) ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ
(1.6) ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรในระดับดีขึ้นไป
(1.7) ผู้เรียนมีสุขภาพที่ดี
เป็นต้น

(2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ข้อมูลที่นำเสนอ เช่น
(2.1) ผลการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา
(2.2) สถานศึกษามีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
(2.3) การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ
(2.4) ผู้ปกครองนักเรียนที่รับทราบข่าวสารจากสถานศึกษา
(2.5) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา
(2.6) การมีส่วนร่วมทางการศึกษาของชุมชนและสังคม
เป็นต้น

(3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ ข้อมูลที่นำเสนอ เช่น
(3.1) ผู้สอนมีการประเมินสมรรถนะในระดับดีขึ้นไป
(3.2) ผู้สอนสอนตรงตามวุฒิการศึกษาและมีภาระงานที่เหมาะสม
(3.3) ผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป
(3.4) ผู้สอนมีความสามารถและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ในระดับดีขึ้นไป
(3.5) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)
(3.6) ผู้สอนใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
(3.7) สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ทำให้ผู้เรียนค้นพบความถนัด รู้จักอาชีพและแนวทางการศึกษาต่อ
เป็นต้น

6.2.4 การตอบคำถามข้อ 3 แผนงาน แนวทางพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม (อย่างน้อย 1 ระดับ) หรือคงสภาพอย่างไร โดยสถานศึกษานำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา การพัฒนาคุณภาพในปีต่อไป เพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น สถานศึกษาอาจนำเสนอแผนงาน/โครงการที่จะพัฒนาออกเป็นด้านต่าง ๆ ตามความสามารถที่จะดำเนินการได้ ตัวอย่างเช่น
(1) แผนงาน/โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
(2) แผนงาน/โครงการพัฒนาคุณภาพครูในเรื่องต่างๆ
(3) แผนงาน/โครงการพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
(4) แผนงาน/โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการของสถานศึกษา
เป็นต้น

นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถนำเสนอข้อมูลอื่นๆ ในภาคผนวกได้เช่นกัน แต่จะต้องเป็นข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่ให้การจัดทำเอกสารมีจำนวนมากและเป็นภาระในการดำเนินการ
ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผอ.สทศ.สพฐ.

โพสท์ใน การประกันคุณภาพการศึกษา | ติดป้ายกำกับ | ใส่ความเห็น

10 ทักษะ ที่จำเป็นในอนาคตของการทำงาน

10 ทักษะ ที่จำเป็นในอนาคตของการทำงาน

  1. ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน  Complex Problem Solving Skills
  2. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ Critical Thinking Skills
  3. ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ Creativity Skills
  4. ทักษะการบริหารจัดการบุคคล People Management Skills
  5. ทักษะการทำงานร่วมกัน Coordinating with Others Skills
  6. ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ Emotional Intelligence Skills
  7. ทักษะการประเมินและตัดสินใจ Judgment and Decision Making Skills
  8. ทักษะการบริการ Service Orientation Skills
  9. ทักษะการเจรจาต่อรอง Negotiation Skills
  10. ทักษะความยืดหยุ่นทางความคิด Cognitive Flexibility Skills
โพสท์ใน บทความ, Uncategorized | ใส่ความเห็น

แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปี ๒๕๖๑

จากประกาศกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๑ก หน้า ๓ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ กล่าวถึง ” การประกันคุณภาพการศึกษา ” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น

ฉะนั้นบทบาทของสถานศึกษาจะต้องดำเนินการ ดังนี้

          ๑. ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเพื่อเป็น
กลไกในการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่น
ให้แก่สังคม ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
๒. การจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้
๒.๑ กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ระดับ
การศึกษาปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องดำ
เนินการและถือเป็น
ความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มเติม
นอกเหนือจากที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้ได้
๒.๒ จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการจำเป็นของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยสะท้อนคุณภาพความสำเร็จอย่างชัดเจนตามมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษา
๒.๓ ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
๒.๔ ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยกำหนดผู้รับผิดชอบ
ในการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ทั้งระดับบุคคลและระดับสถานศึกษา และกำหนดการ
ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง โดยวิธีการและ
เครื่องมือที่หลากหลายและเหมาะสม
๒.๕ ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และ
นำผลการติดตามไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา
๒.๖ จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) ตามมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษา นำเสนอรายงานผลการประเมินตนเองต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้
ความเห็นชอบ และจัดส่งรายงานดังกล่าวต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประจำทุกปี
๒.๗ พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพโดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเอง (SelfAssessment Report : SAR) และตามคำแนะนำของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๓. สถานศึกษาแต่ละแห่งให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(สมศ.) เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามข้อเสนอแนะของสำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

โพสท์ใน การประกันคุณภาพการศึกษา | ใส่ความเห็น

ยุทธศาสตร์ประเทศไทย…ตอนสถานการณ์ในประเทศไทย

ตอนนี้เรามักจะได้ยินคำว่าประเทศไทย 4.0 อยู่บ่อยครั้ง  ก่อนจะคุยเรื่องประเทศไทย 4.0 ผมอยากจะคุยเรื่องยุทธศาสตร์ประเทศไทย จะไล่ตั้งแต่ สถานการณ์ในประเทศไทย กับดักประเทศไทย การก้าวข้ามกับดักของประเทศ การมุ่งสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง บริบทของประเทศไทย ภารกิจหลักของรัฐบาลในการวางรากฐานของประเทศ การเผชิญกับดักประเทศของแต่ละประเทศ ประเทศไทยในศตวรรษแห่งความว่างเปล่า 7 ภารกิจหลักของรัฐบาลในการวางรากฐานประเทศ ดัชนี้วัดผลสัมฤทธิ์ของการเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง

วันนี้จะคุยเรื่องสถานการณ์ในประเทศไทย ในแง่ที่จะเข้าสู่ประเทศโลกที่หนึ่ง  หากพิจารณาประเทศต่าง ๆ ในประชาคมโลกตามระดับพัฒนาการเศรษฐกิจและการเมือง สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) กลุ่มประเทศที่หนึ่ง  ได้แก่ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

2) กลุ่มประเทศโลกที่สอง  ได้แก่ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

3) กลุ่มประเทศโลกที่สาม  ได้แก่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในระยะเริ่มต้น

ประเทศไทยในปัจจุบันถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศโลกที่สอง นั่นคือ ประเทศไทยยังไม่สามารถก้าวพ้นการเมืองที่มีปัญหาและไร้เสถียรภาพ เพื่อไปสู่การเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและมีเสถึยรภาพ พร้อม ๆ กันนั้นประเทศไทยยังไม่สามารถก้าวพ้นเศรษฐกิจที่มีความเปราะบาง อ่อนไหว ไปสู่เศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพได้

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ หลายประเทศที่เมื่อก่อนอยู่ในโลกที่สองเหมือนกับประเทศไทย อย่างเกาหลีใต้ สิงค์โปร์ หรือแม้แต่มาเลเซีย แต่ปัจจุบันนี้ประเทศเหล่านี้ได้ก้าวขึ้นสู่ประเทศในโลกที่หนึ่งเรียบร้อยแล้ว และในขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งปัจจุบันมีสถานะอยู่ในกลุ่มประเทศโลกที่สาม เช่น พม่า และเวียดนาม ก็มีแน้วโน้มจะสามารถยกระดับการพัฒนาประเทศให้อยู่ในกลุ่มประเทศโลกที่สองได้เป็นผลสำเร็จในเวลาอันใกล้นี้

โพสท์ใน ประเทศไทย 4.0, Uncategorized | ติดป้ายกำกับ , | ใส่ความเห็น

Character Education

วันนี้มีคำศัพท์คำหนึ่ง คือ Character Education ซึ่งตรงกับเป็นนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างอุปนิสัยที่ดีงาม อาทิ นโยบายโรงเรียนคุณธรรม การสร้างเด็กให้มีวินัย การสอนเรื่องหลักคิด เป็นต้น

ความเป็นมาของคำนี้ สืบเนื่องจากพระดำรัสของสมเด็จพระสังฆ์ราชสกลมหาปริณายก ที่ได้ทรงตรัสกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตอนหนึ่ง ได้ทรงตรัสถึงความสำคัญของวิชา ” หน้าที่พลเมืองและธรรมจรรยา”

โพสท์ใน ความเคลื่่อนไหวทางการศึกษา, Uncategorized | ใส่ความเห็น